โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “กามโรค” ชื่อก็บ่งบอกว่าสามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยภาษาอังกฤษจะเรียกว่า STIs ย่อมาจากคำว่า Sexually Transmitted Infection นั่นเอง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นี้จะสามารถส่งต่อเชื้อผ่านทางอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทหารหนัก ทางปาก รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ เช่น เลือด อสุจิ น้ำในช่องคลอด และของเหลวในร่างกายอื่นๆ ด้วย และยังหมายถึงการที่ติดต่อจากแม่สู่ลูก การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

พฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ?

  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ให้บริการทางเพศ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

หลักๆ แล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะถูกจำแนกออกตามประเภทกลุ่มของการติดเชื้อ ได้แก่

1. กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย เช่น

  • ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema Pallidum ซึ่งอาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของร่างกาย เนื่องจากมีขนาดที่เล็กมากๆ แม้โรค ซิฟิลิส นี้อาจรู้สึกว่าไม่ได้ร้ายแรงหากเทียบกับโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ แต่มันก็ทำให้ผู้ป่วยเองรู้สึกได้ถึงความทรมานได้ไม่น้อยเหมือนกัน ยิ่งสถิติที่ผ่านมาระบุชัดเจนว่าเริ่มมีคนป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขนาดใช้คำว่าในเมืองไทยโรคซิฟิลิสกำลังระบาดอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักให้มากขึ้น
  • หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae อาการหนองในระหว่างผู้หญิงและผู้ชายจะต่างกันออกไป แต่สิ่งทีเหมือนกันอย่างแรกคือเชื้อจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้บางคนอาจไม่ได้มีอาการอะไรเลย
  • หนองในเทียม เกิดจากเชื้อโรคที่ชื่อว่า Chlamydia Trachomatis ได้ผ่านเข้าไปสู่ร่างกาย (เป็นเชื้อคนละตัวกับหนองในแท้) มักพบเจอได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน อย่างไรก็ตาม ในบางรายอาการของโรคจะไม่แสดงให้เห็น แต่สามารถแพร่กระจายไปติดกับผู้อื่นต่อได้หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันอย่างถูกวิธี โดยทั่วไปแล้วหากเป็นหนองในเทียม อาการจะไม่หนักเท่ากับการเป็นหนองในแท้ แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ ในการติดเชื้อและป่วยเป็นโรคนี้
  • แผลริมอ่อน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Haemophilus Ducreyi หากเกิดขึ้นกับใครก็ตามจะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณอวัยวะเพศ มีอาการเปื่อย นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ โรคแผลริมอ่อน โดยอาการในแต่ละเพศจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความทรมานกับร่างกายไม่ต่างกัน

2. กลุ่มเชื้อไวรัส เช่น เริม หูดหงอนไก่ หูดข้าวสุก ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชพีวี (HPV)

  • เริม หรือ Herpes เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายคน เมื่อเชื้อ โรคเริม ได้เข้าสู่ร่างกายแล้วจะอยู่กับคนๆ นั้นไปตลอดชีวิต โดยที่คนส่วนใหญ่เป็นกันจะเกิดจากเชื้อ 2 สายพันธุ์ คือ Herpes Simplex Virus ชนิด 1 หรือ HSV-1 กับ Herpes Simplex Virus ชนิด 2 หรือ HSV-2 จะบอกว่า โรคเริม นี้เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็ไม่เชิง เพราะในความจริงคนที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อก็สามารถติดได้เช่นกัน ถือว่าเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย
  • หูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อที่เรียกว่า Human Papilloma Virus หรือ HPV ประกอบกับมีเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุกว่า 150 สายพันธุ์ที่ถูกระบุเอาไว้เป็นตัวเลขทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่นี้ ปกติแล้วเชื้อไวรัสตัวที่พบบ่อยสุดจะเป็น HPV 6 กับ HPV 11 
  • หูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus (MCV) เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ ความอันตรายของหูดข้าวสุก คือ ในเด็กที่มีอายุ 1-10 ปี ที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันมากพอ แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันแข็งแรงดีแล้ว จะช่วยกำจัดจนหูดข้าวสุก สามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1 ปี ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงต้องระมัดระวังอย่าให้เด็กในความดูแลเกิดโรคหูดข้าวสุกจะเป็นเรื่องดีที่สุด
  • ไวรัสตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบซี
  • ไวรัสเอชพีวี (HPV)

3. กลุ่มเชื้อปรสิต เช่น โลน หิด พยาธิในช่องคลอด

4. กลุ่มเชื้อรา เช่น เชื้อราในช่องคลอด

อาการของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อาการของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ผู้ที่ติดเชื้อกามโรคนั้น มักจะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค ซึ่งอาการต่างๆ อาจเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศอย่างเดียว หรืออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ทั้งหมด และในบางรายที่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อาจจะยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติเล็กน้อยเหล่านี้ ได้แก่

  • มีผื่น ตุ่มนูน ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือบริเวณทหารหนัก
  • ในเพศหญิงอาจมีอาการตกขาวมากกว่าปกติ มีกลิ่นหรือสีที่ผิดปกติ เช่น เหม็นคาว มีกลิ่นรุนแรง บางรายมีอาการคันในช่องคลอดติดต่อกันหลายสัปดาห์
  • ในเพศชายอาจมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนอง ไหลออกมาจากปลายอวัยวะเพศและรู้สึกแสบขัดเวลาที่ปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บแสบ หรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ บวมโต กดแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ ร่วมกับมีอาการระคายเคืองที่อวัยวะเพศ
  • อาการผิดปกติอื่นๆ มีผื่นขึ้นตามแขนขาและลำตัว น้ำหนักลด เบื่ออาหาร

อาการของเชื้อกามโรคนั้น อาจไม่แสดงให้เห็นทันที บางรายใช้เวลา 2-3 วันจึงจะแสดงอาการ บางรายใช้เวลาเป็นปี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของร่างกายแต่ละคน นอกจากนี้ การติดเชื้อกามโรคมีความเสี่ยงสูงที่ทำให้หญิงกำลังตั้งครรภ์ เกิดการแท้งลูกหรือทำให้ทารกเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกราย จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อและทำการรักษากามโรคก่อนทุกราย

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ในขั้นตอนของการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด ด้วยการซักประวัติและความเสี่ยงในการติดเชื้อ ร่วมกับการเจาะเลือด การเก็บปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยยืนยันในห้องปฏิบัติการที่มีผลชัดเจน หากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจสามารถรักษาให้หายขาดได้ ยกเว้น เชื้อไวรัสอาจจะต้องดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วยอีก เพราะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส ซึ่งผู้ป่วยต้องรับประทานยาต่อเนื่องจนหมด และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายเป็นปกติ
  2. ยาต้านไวรัส (Antivirus) เช่น โรคเริม ผู้ป่วยควรได้รับยาต้านไวรัสร่วมกับการดูแลสุขภาพ และเชื้อจะยังหลงเหลืออยู่ในร่างกาย เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอ อาจจะกลับมาแสดงอาการอีกครั้ง และมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับคู่นอนได้ด้วย ถึงแม้จะมีโอกาสต่ำ ดังนั้น ควรรับประทานยาและรักษาให้หายขาดก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ หรือต้องป้องกันทุกครั้ง

การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ดีที่สุด คือ การงดการมีเพศสัมพันธ์ แต่หากมีเพศสัมพันธ์ควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้

นอกจากนี้ ยังมีวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ดังนี้

  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันเอชพีวี (HPV)

สรุปแล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและเหมาะสม ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และหากไม่มั่นใจว่าหายขาด เชื้อกามโรคบางชนิดสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคในอนาคตได้

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า