เอชไอวี (HIV) ไวรัสร้าย ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน

เอชไอวี (HIV) ไวรัสร้าย ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน

เอชไอวี hiv ย่อ มา จาก Human Immunodeficiency Virus ไวรัสนี้ส่งผลกระทบ และเป็นปัญหาด้านสุขภาพทั่วโลก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี สาเหตุ การแพร่เชื้อ อาการ การป้องกัน และการรักษา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ บทความนี้มุ่งหวังเพื่อให้คุณมีความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับไวรัส hiv นี้

เอชไอวี(HIV) คืออะไร ?

เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus  แปลเป็นไทยว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ โดยมีลักษณะเป็นไวรัสที่สามารถส่งต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำเหลือง และน้ำนมแม่ หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ได้

เอชไอวี ติดต่อทางไหนได้บ้าง?

เอชไอวีสามารถติดต่อได้ ผ่านการสัมผัสเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือน้ำนมแม่ ช่องทางการติดต่อเชื้อเอชไอวี ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ทารกที่ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมแม่

ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี

ระยะของการติดเชื้อ เอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1: ระยะเฉียบพลัน : ระยะนี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้ออาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต และผื่น ระหว่างระยะนี้ จำนวนเอชไอวีในเลือดสูงมาก และไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย
  • ระยะที่ 2: ระยะแฝง : ระยะนี้เกิดขึ้นหลังจากระยะที่ 1 เป็นเวลาหลายปี ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย ระหว่างระยะนี้ จำนวนเอชไอวีในเลือดต่ำกว่าในระยะที่ 1 แต่ไวรัสยังคงแพร่กระจายได้
  • ระยะที่ 3: เอดส์ : ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายอย่างรุนแรง ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส และโรคร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิต

เอชไอวีและเอดส์ ต่างกันอย่างไร ?

เอชไอวี (HIV) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คือ ไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้

เอดส์ (AIDS) ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome คือ ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรคต่างๆ ได้ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

สรุปง่ายๆคือ เอชไอวีและเอดส์ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้อง

การป้องกันเอชไอวี

การ ป้องกัน เอชไอวี

hiv คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชนิดหนึ่ง ฉะนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อได้เกือบทุกชนิด ทั้งยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย วิธีป้องกันอีกแบบหนึ่ง คือการทานยาที่เรียกว่า PrEP ซึ่งจะเป็นยาที่ทานดักไว้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยา PrEP นี้จะสามารถป้องกันได้แค่โรคเอชไอวีเท่านั้น หากอยากป้องกันให้ครบถ้วนก็ควรใช้ถุงยางอนามัยอยู่ดี​

จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดเอชไอวี

วิธีเดียวที่จะรู้อย่างแน่ชัด ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ คือ “การตรวจเอชไอวี” เพราะเอชไอวีปกติแล้วจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยทำให้หลายคนไม่รู้ตัว ฉะนั้นสำหรับใครที่ผ่านความเสี่ยงมา ควรรีบตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยเร็วที่สุด

การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลส่วนมากก็สามารถรักษาโรคเอชไอวีได้ด้วย ทางเลือกอื่นนอกจากโรงพยาบาลจะเป็น คลินิกเฉพาะทาง ด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย

การตรวจเอชไอวี มีประโยชน์มากมาย

การตรวจ เอชไอวี มีประโยชน์มากมาย

ป้องกันการแพร่เชื้อ เอชไอวี

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือการสัมผัสเลือดหรือน้ำอสุจิของผู้อื่นที่ติดเชื้อ หากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็สามารถลดปริมาณเชื้อในร่างกายลงได้มาก ทำให้โอกาสในการแพร่เชื้อลดลงตามไปด้วย

วางแผนป้องกันตนเอง

ผู้ที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองแล้ว จะสามารถวางแผนป้องกันตนเองและคู่นอน จากการติดเชื้อได้ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น

รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมปริมาณเชื้อในร่างกายให้อยู่ในระดับต่ำได้ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ลดโอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี

ในประเทศไทย การตรวจเอชไอวีถือเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพที่ทุกคนสามารถรับการตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง โดยสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง

การรักษาเอชไอวี (HIV)

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถ รักษาเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้ผู้ป่วย มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือด ให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส (Antiretroviral therapy) ยาต้านไวรัส จะช่วยลดการทำลายเซลล์ CD4 และช่วยให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาต้านไวรัส อย่างต่อเนื่องไปตลอด จนกว่าจะมีวิธีรักษที่ดีกว่านี้ในอนาคต

บทความเกี่ยวกับเอชไอวี

เอชไอวี เป็นโรคที่รักษาได้แต่ยังไม่หายขาด ผู้ป่วยควรรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือด ช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตอยู่ได้นาน ไม่ต่างกับคนทั่วไป